ดองดึง climbing
lily
ชื่อทั่วไป : ดองดึง climbing lily
ชื่อท้องถิ่น : ก้ามปู (ชัยนาท); คมขวาน,บ้องขวาน, หัวขวาน (ชลบุรี);ดางดึงส์ ,
ว่านก้ามปู (ภาคกลาง);
พันมหา(นครราชสีมา) มะขาโก้ง
(ภาคเหนือ)
ชื่อสามัญ : flame lily, climbing lily, creeping lily, glory
lily, gloriosa lily,
tiger claw, and fire lily.
kalihari
(Hindi), Kaanthal (Tamil), lis de Malabar (French), aranha de emposse (Portuguese), bandera española [Spanish flag] (Spanish), mkalamu (Swahili),
ชื่อ วิทยาศาสตร์ : Gloriosa
superba L.
วงศ์ :
Colchicaceae
ชนิด : epithet superb
ลักษณะ
ต้น : ไม้เถาล้มลุกขนาดเล็ก อายุหลายปี
เลื้อยเกาะพันต้นไม้อื่น ยาวได้ถึง 5 ม.
ลำต้น : เป็นหัวหรือเหง้าขนาดเล็กอยู่ใต้ดิน
ใบ: ใบเดี่ยวเรียงสลับหรือเรียงเป็นวงรอบข้อ 1-3 ใบ รูปขอบขนานแกมรูปใบหอกยาว 5-15 ซม. ไม่มีก้าน ปลายใบแหลมยืดยาวออก ทำหน้าที่เป็นมือเกาะโคนใบมน
ขอบใบเรียบ
ดอก: ดอกเดี่ยวขนาดใหญ่ ออกที่ซอกใบใกล้ปลาย เถาสีเหลือง ปลายกลีบสีแดง โคนกลีบ
เมื่อบานใหม่ๆ มีสีเหลือง เมื่อดอกบานเต็มที่จะเปลี่ยนเป็นสีแดง กลีบดอก 6 กลีบ สีเขียวอ่อนและจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวและแดง กลีบรูปแถบเรียวยาว
5-7.5 ซม.โค้งกลับไปทางก้านดอก ขอบกลีบหยักเป็นคลื่น
เกสรเพศผู้มี 6 อัน ก้านยาว 3-5 ซม.
อับเรณูยาวประมาณ 1 ซม. ก้านเกสรเพศเมียยาว
0.3-0.7 ซม. แยกเป็น 3 แฉก
ก้านดอกยาวประมาณ 5 ซม.
ออกดอกติดผลเดือนมิถุนายน-ตุลาคม
ผล: ผลเป็นฝักแห้ง แตกได้รูปกระสวย ปลายผลแหลมขนาดกว้าง 2.5-3 ซม.ยาว 6-8 ซม. ผิวเรียบมักมีสันตื้น ๆ มี 3 พู เมล็ดกลมสีส้ม แกมน้ำตาลจำนวนมาก
นิเวศวิทยาและการกระจายพันธุ์
: พบขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเล
50-400 เมตร ต่างประเทศพบในแอฟริกา อินเดียและกัมพูชา
การใช้ประโยชน์ :สมุนไพร,เหง้ามีสารอัลคาลอยด์รักษาโรคปวดข้อสารสกัดจากดองดึงคือ Cochicineใช้เพิ่มจำนวนโครโมโซมในเซลพืชได้
อ้างอิง
ดองดึง : http://biodiversity.forest.go.th/index.php?option=com_ dofplant&view =showone&id=512
BGO Plant
Database, The Botanical Garden Organization : http://www.qsbg. org/database/ botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=902
Gloriosa
superba : http://en.wikipedia.org/wiki/Gloriosa_superba
สถานที่ อำเภอรัตนบุรี
จังหวัดสุรินทร์ 2556
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น