วันเสาร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2558

หมักม่อ : Rothmannia wittii (Craib.) Bremek.

หมักม่อ : Rothmannia wittii (Craib.) Bremek.




 



ชื่อสมุนไพร          หมักม่อ
ชื่ออื่นๆ                 ต้นขี้หมู(บุรีรัมย์) หม่อ หม้อ
ชื่อวิทยาศาสตร์     Rothmannia wittii (Craib.) Bremek.
ชื่อพ้อง                 Randia wittii Craib.
ชื่อวงศ์                  Rubiaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น      ไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก สูง 6-8 เมตร เปลือกสีน้ำตาลอมดำ กิ่งอ่อนมีขนอ่อนสีน้ำตาลแดงปกคลุมหนาแน่น แตกกิ่งเป็นชั้น คล้ายกับฉัตร มีทรงพุ่มกลม โปร่ง
ใบ      ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม เป็นคู่ ใบรูปขอบขนาน หรือรูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 3-6 เซนติเมตร ยาว 12-16 เซนติเมตร ใบอ่อนมีขนปกคลุมทั้งสองด้าน ใบค่อนข้างนิ่ม มีขนาดใหญ่ และเห็นเส้นแขนงใบชัดเจน หูใบอยู่ระหว่างก้านใบ ปลายใบ และโคนใบแหลม
ดอก   ดอกช่อ ออกเป็นกระจุกที่ซอกใบใกล้ปลายยอด สีขาวนวล กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง มีดอกย่อย 5-12 ดอก ดอกย่อยรูประฆัง ปลายแยกเป็น 5 กลีบ และบานโค้งงอกลับ โคนกลีบด้านในมีแต้มสีเขียวและแถบประสีม่วงเข้ม ดอกบานคว่ำลง เมื่อบานมีเส้นผ่าศูนย์กลางของดอก 3-5 เซนติเมตร  มีกลิ่นหอมอ่อนๆ
ผล     ผลสด รูปทรงกลม ขนาด 3-4 เซนติเมตร เปลือกผลเรียบ แข็ง มีรอยตะเข็บสีน้ำตาลเป็นสันเล็กน้อย แบ่งครึ่งลูก เนื้อผลมีรสหวานเล็กน้อย มีสีเขียวเข้ม เมื่อแก่สีดำ มีเมล็ดจำนวนมาก ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด พบขึ้นตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าโปร่ง และป่าละเมาะ ออกดอกช่วงเดือนธันวาคม ถึงมีนาคม
สรรพคุณ              
ตำรายาไทย: ใช้ แก่น รสสุขุม (จืดมันฝาดหวานร้อน) ปรุงยาต้มดื่มแก้ไข้ ถ่ายเส้นเอ็น แก้อัมพฤกษ์อัมพาต เหน็บชา ถ่ายพิษในตับ ขับปัสสาวะ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ
           ยาพื้นบ้าน: ใช้ แก่นหรือราก ต้มน้ำดื่มแก้ไข้ ลำต้น ผสมกับสมุนไพรอื่น ต้มน้ำดื่มรักษากามโรค

           ตำรายาพื้นบ้านอำนาจเจริญ: ใช้ แก่น นำมาต้มกินแก้ท้องผูก ต้มดื่มตอนที่อยู่ไฟ เป็นสมุนไพรแก้เส้นเอ็น

อ้างอิง
ความหลากหลายทางชีวภาพhttp://chm-thai.onep.go.th/chm/Dry/bdd_plant02.html 
หมักม่อ : ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 
http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=126
หมากหม่อ : ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน
http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10869
ายงานชนิดของพรรณไม้ เรื่อง หมักหม้อ .Rothmannia wittii (Craib.) Bremek. ศูนย์ศึกษาและพัฒนาวนศาสตร์ชุมชนที่ 6  สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 6 (อุดรธานี) กรมป่าไม้ . https://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=2&cad= rja&uact=8&ved=0CCIQFjAB&url=http%3A%2F%2Fwww.forest.go.th%2Fcommunity_development%2Findex.php%3Foption%3Dcom_docman%26task%3Ddoc_download%26gid%3D140%26Itemid%3D%26lang%3Dth&ei=IBENVfTUDIWSuATEmoCYBw&usg=AFQjCNG-nEClHjHMIvOx9lkaJJ4quVuANw&bvm=bv.88528373,d.c2E
หมักหม้อ.สถาบันวิจัยวิทยาศาสตรและเทคโนโลยแหงประเทศไทย (วว.) http://www.tistr.or.th/sakaerat/Plant%20in%20Sakaerat/plant%20list/167หมักหม้อ.pdf
http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=142
สถานที่ : อำเภอรัตนบุรี  จังหวัดสุรินทร์

วันศุกร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2558

ผักลืมผัว (phak luem pua) Lobelia begonifolia Wall.

ผักลืมผัว (phak luem pua) Lobelia begonifolia Wall.







ชื่ออื่นๆ :        Lobelia begonifolia Wall.
ชื่อสามัญ :      
ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Lobelia begonifolia Wall
ชื่อพ้อง :        Lobelia begoniifolia Wall., Lobelia horsfieldiana Miq., Lobelia javanica Thunb., Lobelia obliqua Buch.-Ham. ex D. Don, Pratia begoniifolia (Wall.) Lind. Lobelia angulata Forst.  铜锤玉带草 (China)
วงศ์ :           Campanulaceae
ถิ่นกำเนิด :  ผักลืมผัวมีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบที่อินเดีย บังคลาเทศ ภูฏาน ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย นิวกินี และฟิลิปปินส์ ในไทยพบแทบทุกภาค ยกเว้นภาคตะวันออกเฉียงใต้และภาคใต้ ขึ้นตามร่มเงาที่ชุ่มชื้นในป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น และป่าดิบเขา ระดับความสูง 600-1600 เมตร
ลักษณะพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก ลำต้นทอดเลื้อยไปตามพื้น ยาวได้กว่า 50 ซม. มีรากตามข้อ ลำต้นส่วนมากมีขน
ใบ : ใบเรียงเวียน รูปไข่หรือเกือบกลม ยาว 0.7-2.5 ซม. ปลายใบแหลม มน หรือกลม โคนใบรูปหัวใจ ส่วนมากเบี้ยว ขอบใบจักซี่ฟันตื้น ๆ แผ่นใบเกลี้ยงหรือมีขนประปราย ก้านใบยาวได้ประมาณ 1.5 ซม
ดอก : ดอกออกเดี่ยว ๆ ตามซอกใบ ก้านดอกยาว 0.7-3.5 ซม. ฐานดอกรูปถ้วย
ยาว 2-4 มม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ติดทน รูปสามเหลี่ยวเรียวแคบ ยาว 2.5-6 มม. ขอบจักซี่ฟันห่าง ๆ 2-3 คู่ กลีบดอกสีม่วงอ่อนอมเขียวหรือแดง ด้านใบมีสีอ่อนหรือมีปื้นสีเหลืองอ่อน ยาว 0.6-1 ซม. สมมาตรด้านข้าง กลีบบน 2 กลีบ แฉกลึกจรดโคน กลีบรูปสามเหลี่ยม ขอบเว้าเข้า กลีบล่าง 3 กลีบ รูปขอบขนาน ยาวกว่ากลีบบนเล็กน้อย โคนกลีบข้างเว้าเข้า หลอดกลีบมีขนยาวด้านใน เกสรเพศผู้เชื่อมติดกันเหนือกึ่งกลาง หลอดเกสรเพศผู้เกลี้ยง ส่วนอับเรณูที่เชื่อมติดกันยาว 1-1.5 มม. สีเทาดำ ปลายอับเรณูคู่ล่างมีขนเครา รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ ยอดเกสรเพศเมียหยัก 2 พู
ผล : ผลแบบผลสดมีหลายเมล็ด สีม่วงอมแดง ทรงกลมหรือรูปรี ยาว 0.7-1.5 ซม.
เมล็ด  : เมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก เกือบกลม แบนเล็กน้อย ผิวเป็นร่างแห
ประโยชน์ : เป็นผักรับประทานกับน้ำพริก

อ้างอิง :
สารานุกรมพืชในประเทศไทย : ผักลืมผัว. (The Encyclopedia of Plants in Thailand) http://web3.dnp.go.th/botany/detail.aspx
Lobelia angulata Forst.  铜锤玉带草. http://www.cfh.ac.cn/135887.spid

More : http://www.shutterstock.com/s/lobelia/search.html

Local Vegetables of Thailand: http://www.jircas.affrc.go.jp/ project/ value_addition/Vegetables/067.html
Examination of Calcium oxalate from Indigenous Vegetables :
http://www.walai.msu.ac.th/home/pdf/research/02Examination%20of%20Calcium%20oxalate%20from%20Indigenous%20Vegetables
สถานที่: อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์