วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ขี้อ้นแดงPavonia rigida (Wall. ex Mast.) Hochr.

ขี้อ้นแดง
Pavonia rigida (Wall. ex Mast.) Hochr.







ภาพ 1 - 6 อุทยานแห่งชาติผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี



ภาพ 7 - 8  ภาพจากทุ่งนา จังหวัดสุรินทร์

ชื่อทั่วไป : หัสคุณดอกแดง
ชื่อท้องถิ่น  :  ขี้อ้น Khi on (Buri Ram); ขอบจักรวาล Khop chakkrawan, ครอบจักรวาล Khrop chakkrawan, แสงอาทิตย์ Saeng athit (Chanthaburi); หงอนไก่ Ngon kai, อ้นแดง On daeng (Ubon Ratchathani); คืนหน Khuen hon (Prachuap Khiri Khan); หัสคุณดอกแดง Hatsakhun dok daeng (Satun) ขี้อ้นแดง Khee on daeng(LAO P.D.R)
ชื่อสามัญ : Wetchi-pane ( Myanmar )
ชื่อวิทยาศาสตร์   :  Pavonia rigida (Wall. ex Mast.) Hochr.
วงศ์ :  Malvaceae
ลักษณะ :  ไม้พุ่ม ทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน สูง 30-60 ซม. ลำต้นมีขนรูปดาว
ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ กว้าง 3-7 ซม. ขอบจักฟันเลื่อย มีขนรูปดาวทั้งสองด้าน
ดอกช่อกระจุก ออกดอกที่ซอกใบ กลีบดอกสีม่วงแกมสีชมพู หรือแดง ริ้วประดับรูประฆัง ปลายแยกเป็นเส้นห้าแฉก
ต้น : ไม้ล้มลุกรอเลื้อยลำต้นสีน้ำตาลแดงมีขนรูปดาว
ใบ : ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปกลมแกมรูปไข่ ยาว 6-7.5 ซม. กว้าง 4.5-5 ซม. ปลายแหลมหรือมน ฐานรูปหัวใจ ขอบแบบจักฟันเลื่อย มีขนรูปดาว มีต่อม 1 ต่อม ที่โคนเส้นกลางใบ เส้นใบและก้านใบมีสีแดง ก้านใบยาว 1-3 เซนติเมตร
ดอก: กระจุกออกที่ซอกใบหรือปลายกิ่ง กลีบดอกสีชมพูหรือสีชมพูอมแดง ขนาด 4 เซนติเมตร กลีบดอกมี 5 กลีบ ปลายมน โคนเรียว ส่วนโคนกลีบดอกเชื่อมกับฐานหลอดเกสรตัวผู้ กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ ด้านนอกมีขน ริ้วประดับรูประฆัง ปลายแยกเป็นเส้นห้าแฉก เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก เชื่อมกันเป็นกลุ่มเดียว เกสรเพศเมีย มีก้านชูเกสรแยกเป็น 10 แฉก
ผล: ผลมีขนเป็นริ้ว ประดับรูปถ้วยหุ้มไว้เมล็ดรูปไต
นิเวศวิทยาและการกระจายพันธุ์ :  พบตามป่าโปร่งและทุ่งนาป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง ออกดอกราวเดือนตุลาคมถึงมกราคม
การใช้ประโยชน์ : สมุนไพร  ยาพื้นบ้านอีสานใช้ ราก ต้มน้ำให้สตรีระหว่างอยู่ไฟหลังคลอดดื่ม และบำรุงโลหิต      ประเทศลาว ราก ใช้รักษานิ่วในถุงน้ำดี โดยใช้ราก 100 กรัม ต้มรวมกับสมุนไพรอื่นอีก 4 ชนิด อย่างละเท่าๆกัน ต้มน้ำดื่ม

สถานที่ :  อุทยานแห่งชาติผาแต้ม  อุบลราชธานี
                 อำเภอสนม  จังหวัดสุรินทร์
อ้างอิง : 
ความหลากหลายของพันธุ์พืชบริเวณผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี.http://chm-thai. onep. go.th/ chm/Dry/bdd_plant02.html

ชนิดพันธุ์พืชใน  สปป.ลาว .http://www.lao44.org/2008-07-22-13-04-34.html?func=startdown&id=1153

ฐานข้อมูลพรรณไม้องค์การสวนพฤกษศาสตร์. ฐานข้อมูลพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน. Pavonia rigida (Wall. ex Mast.) Hochr. http://www.qsbg.org/database/plantdb/mdp/medicinal-specimen.asp?id=284
ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ, กรมป่าไม้. หัสคุณดอกแดง. http://biodiversity.forest.go.th/index.php?option=com_dofplant&view=showone&id=665
Pargarden.com. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัย อุบลราชธานี.              
http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=209
http://botany.si.edu/myanmar/searches/genericNames.cfm?myGenus= Pavonia&inWindow=yes

วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ไมยราบ : Sensitive plant

ไมยราบ : Sensitive plant







ชื่ออื่นๆ :  หญ้าปันยอด Ya  pan  yot , หญ้าจิยอบ  Ya chi yop (Northern); กระทืบยอด Kra thuep yot, หนามหญ้าราบ Nam ya rap (Chanthaburi); กะหงับ Ka ngap (Peninsular); ก้านของ Kan khong (Nakhon Si Thammarat); 
นาหมื่อม้ะ Na-mue-ma (Karen-Mae Hong Son); ไมยราบ Maiyarap, ระงับ

ชื่อสามัญ :  common sensitive plant; paklab, sampeas (Cambodia),  daoen kaget kaget(Indonesia)  mala malu (Malaysia), makahiya (Philippines), mai yarap (Thailand) mac co (Vietnam)

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Mimosa pudica  L.

ชื่อพ้อง :  Mimosa tetrandra Humb. & Bonpl. ex Willd.
Mimosa pudica L. var. tetrandra (Willd.) DC.
Mimosa unijuga Duch. & Walp.
Mimosa pudica L. var. unijuga (Duch. & Walp.) Griseb.

วงศ์ :  Mimosaceae

ถิ่นกำเนิด :  มีถิ่นกำเนิดในแถบอเมริกาใต้ ซึ่งประเทศไทยได้มีการนำเข้ามาโดยกรมทางหลวงเพื่อนำมาใช่คลุมหน้าดิน  พบกระจายทั่วไปในเขตร้อน ประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค เป็นวัชพืชขึ้นได้ในที่ชื้นแฉะ และข้างทางเปิดโล่ง ออกดอกตลอดปี

ลักษณะพฤกษศาสตร์ :  จัดเป็นไม้ล้มลุกที่มีอายยุหลายปี มักแผ่ทอดเลื้อยตามพื้นดิน บางครั้งจะสูงถึง 1 เมตร ต้นมีน้ำตาลแดง มีหนามขนาดเล็ก และมีขนหยาบๆปกคลุมที่ลำต้น แกนก้านใบและท้องใบรวมไปถึงช่อดอก และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด

ใบ ไมยราบ จัดเป็นใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น แกนกลางรวมกับก้านใบมีความยาวประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร ส่วนใบย่อยมี 1-2 ใบ มีความยาวประมาณ 1.5-7 เซนติเมตร โดยใบย่อยจะมีอยู่ประมาณ 12-25 คู่ ลักษณะคล้ายรูปขอบขนานหรือคล้ายๆ รูปเคียวยาวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร

ดอก ไมยราบ ออกดอกเป็นช่อกลมสีชมพู เป็นดอกเดี่ยวหรือดอกคู่ ออกที่บริเวณซอกใบ ก้านดอกมีความยาวประมาณ 2.5-4 เซนติเมตร ดอกมีจำนวนมาก ไร้ก้าน มีกลีบเลี้ยงขนาดเล็กมากประมาณ 0.1 มิลลิเมตร กลีบดอกจะคล้ายกับรูประฆังแคบ มีความยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร กลีบดอกจะมนกลม มีความยาวประมาณ 0.5-0.8 มิลลิเมตร มีเกสรตัวผู้อยู่ 4 อัน และมีรังไข่ยาวประมาณ 0.5 มิลลิกรัม

ผล ไมยราบ มีลักษณะเป็นฝักแห้ง แบน ยาวเรียว ฝักมีหลายฝักในแต่ละช่อดอก ลักษณะเป็นรูปขอบขนาน ตรงและยาวประมาณ 1.5-1.8 เซนติเมตร มีขนแข็งปกคลุมตามสันขอบผล ส่วนเมล็ดมีสีน้ำตาลอ่อน เมล็ดแบนเป็นสันนูนตรงกลาง หนึ่งผลมีเมล็ดประมาณ 2-5 เมล็ด ผลหักตามรอยคอด
ไมยราบ เป็นพืชล้มลุกที่มีลักษณะพิเศษ คือ หากได้รับแรงสั่นสะเทือน ก้านและใบก็จะตอบสนองด้วยการหุบตัวลงอย่างรวดเร็ว และยังเป็นพืชที่จัดอยู่ในตระกูลและมีคุณสมบัติใกล้เคียงกันเช่นเดียวกับผักกระเฉด

ประโยชน์  ไมยราบมีสรรพคุณมากมาย โดยส่วนที่นำมาใช้ก็ได้แก่ ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล
ทั้งต้น  มีสรรพคุณในการ  ช่วยบำรุงร่างกาย   ต้นแห้งนำมาต้มกับน้ำกินช่วยแก้อาการอ่อนเพลียได้   ไมยราบทั้งต้นนำมาสับเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนำมาตากจนแห้งสนิทและนำมาต้มกินต่างน้ำ สามารถช่วยรักษาโรคกษัยได้   ช่วยแก้เบาหวาน ลดระดับน้ำตาลในเลือด เพราะสารสกัดน้ำจากต้นและรากของไมยราบขนาน 20 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมสามารถออกฤทธิ์ช่วยลดระดับน้ำตาลได้เทียบเท่ากับการใช้ยามาตรฐานโทลบูตาไมด์ (Tolbutamide) ขนาด 100 มก./กก. น้ำหนักตัว โดยจะออกฤทธิ์ได้อย่างต่อเนื่องนานถึง 5 ชั่วโมง   ทุกส่วนของต้นนำมาหั่นแล้วคั่วโดยใช้ไฟอ่อนๆ จะมีกลิ่นหอมสามารถนำไปชงดื่มแทนชา ช่วยลดระดับระดับคอเลสเตอรอลได้  ช่วยขับโลหิตช่วยแก้เด็กเป็นตานขโมย   ช่วยแก้ตานซางในเด็กเล็ก  ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ  ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ   ช่วยทำให้สงบประสาท  ช่วยแก้อาการตาบวม ตาเจ็บ  ช่วยแก้ไข้ออกหัด  ช่วยแก้กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ  ช่วยขับและช่วยแก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ   ช่วยแก้นิ่ว ขับนิ่ว  ช่วยแก้ไส้เลื่อน ด้วยการนำทุกส่วนของต้นมาต้มกิน  ช่วยขับระดูขาว  ช่วยแก้ไตพิการ  ช่วยแก้อาการผื่นคันตามตัว  ช่วยแก้แผลฝี ช่วยแก้อาการปวดข้อ   ช่วยแก้อาการบวมตามเนื้อตามตัว  ช่วยแก้อาการปวดหลังปวดเอว หรือจะนำมาผสมกับดอกคำฝอย ใบเตยหอม ใบหม่อน ทองพันชั่ง โดยใช้ไมยราบเป็นตัวยาหลักในการต้มดื่มเพื่อสุขภาพและช่วยแก้อาการปวดหลังได้  ช่วยแก้หัด และขับน้ำนม  และสารบริสุทธิ์สกัดจากต้นของไมยราบ สามารถนำมาใช้ทำเป็นโทนเนอร์เช็ดหน้าหลังอาบน้ำ เพื่อใช้ฆ่าเชื้อที่เป็นสาเหตุของการเกิดสิวและทำความสะอาดผิวหน้าได้อีกด้วย 

ราก  ช่วยในการระงับประสาท    ช่วยทำให้ตาสว่าง   ช่วยแก้อาการไอ ช่วยขับเสมหะ ช่วยแก้หลอดลมอักเสบเรื้อรัง ช่วยบำรุงกระเพาะอาหาร ช่วยแก้อาการบิด ท้องร่วง ช่วยแก้ปัญหาระบบย่อยอาหารของเด็กไม่ดีได้ ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร ช่วยรักษาโรคปวดช่วงเวลามีประจำเดือน ช่วยแก้เริม ช่วยแก้อาการงูสวัด ช่วยแก้ไฟลามป่า ช่วยรักษาโรคพุพอง ช่วยรักษาแผลเรื้อรังต่างๆ
ใบ  ช่วยรักษาแผลฝีหนอง ใบไมยราบนำมาตำพอกช่วยแก้อาการปวดบวมได้ 

สถานที่ : อำเภอรัตนบุรี  จังหวัดสุรินทร์

อ้างอิง : 
ไมยราบ . http://frynn.com/%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B8%A2

สารานุกรมพืชในประเทศไทย. ไมยราบ.  http://web3.dnp.go.th/botany/detail.aspx?
wordsLinkno=0&words=ไมยราบ&typeword=word

Baby Joseph, Jency George, Jeevitha Mohan. Pharmacology and Traditional Uses of Mimosa pudica. http://www.ijpsdr.com/pdf/vol5-issue2/1.pdf

BGO Plant Database, The Botanical Garden Organization : http://www.qsbg.org/ database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=1503
Mimosa pudica L. sensitive plant : http://www.fs.fed.us/global/iitf/pdf/shrubs/ Mimosa% 20pudica.pdf
Mimosa pudica : http://www.iucnredlist.org/details/175208/0
Biological Control of Weeds: Southeast Asian Prospects . http://aciar.gov.au/ files/ node/ 2160/MN26%20Part%208.pdf
NILESH KUMAR1, PALWINDER KAUR2, KUNTAL DAS3, SUDIPTA CHAKROBORTY. MIMOSA PUDICA L. A SENSITIVE PLANT. http://ijppsjournal.com/Vol1Issue2/152%20R1.pdf

ผักบุ้งช้าง Argyreia collinsae (Craib) Na Songkhla & Traiperm

ผักบุ้งช้าง  
Argyreia collinsae (Craib) Na Songkhla & Traiperm







ชื่ออื่น ๆ : ผักบุ้งช้าง  เถากระดึงช้าง
ชื่อสามัญ : Argyreia collinsae (Craib) Na Songkhla & Traiperm
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ipomcea aquatica Forsk.
วงศ์ : Convolvulaceae
ชนิด : Argyreia collinsae
ลักษณะทั่วไป : เป็นพรรณไม้เถา ชอบเลื้อยพาดพันตามต้นไม้ใหญ่ ตามร้านเถานั้น
จะมีลักษณะกลม และเกลี้ยง  ทุกส่วนมียางสีขาว
ใบ : ใบมีลักษณะเป็นรูปไข่ ปลายใบยาวเรียว โคนใบมนหรือเว้า ขนาดของใบกว้างประมาณ
1.5 – 3 นิ้ว ยาวประมาณ 2.5 – 4 นิ้ว เนื้อผิวใบค่อนข้างหนา หลังใบมีสีเขียวเข้ม
ใต้ท้องใบมีสีเขียวอ่อนกว่า ก้านใบยาว 1.5 – 2.5 นิ้ว
ดอก : ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ  กลีบดอกมีลักษณะเป็นแตรปลายแผ่ออกและหยักเป็นแฉกตื้นๆ
มีสีขาวแกมม่วง เมื่อบานเต็มที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3 - 4 เซนติเมตร
ผล : ผลสด รูปทรงกลม เปลือกสีขาว
เมล็ด : กลมสีน้ำตาล
ประโยชน์ :
สถานที่ : อำเภอรัตนบุรี อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
          convolvulaceae-new-import/convolvulaceae/argyre
http://science.mnhn.fr/institution/mnhn/collection/p/item/p04039339
 JSTOR Global Plants . http://plants.jstor.org/specimen/k000830763?history=true&

วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บาหยา (ย่าหยา)Ganges Primrose

บาหยา (ย่าหยา)Ganges Primrose







ชื่ออื่น   อ่อมแซบ ,ย่าหยา, บุษบาฮาวาย, บุษบาริมทาง (กรุงเทพฯ); ผักกูดเน่า (เชียงใหม่) 
ชื่อสามัญ: Ganges Primrose, Ganges River asystacia, Chinese violet, Coromandel, Creeping foxglove, Baya, Yaya,(Kannada: Meddhe soppu, Lavan-valli, Maithaala kaddi • Malayalam: Valli-upu-dali • Marathi: लवण वल्ली Lavana valli • Tamil: Parchorri, Chorri, Mekampokki • Telugu: Mukka mungera, Poda beera )
ชื่อพ้อง  Justicia gangetica L. 
ชื่อวิทยาศาสตร์: Asystasia gangetica (L.) T. Anders.
ตระกูล: Scrophulariales
ชื่อวงศ์: Acanthaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้พุ่มล้มลุก ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม ตั้งตรงหรือรอเลื้อย มีขน สูงถึง 1 เมตร 
 ใบ  ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม ยาว 3-4.5 เซนติเมตร กว้าง 2.4-3.5 เซนติเมตร ใบรูปไข่ ปลายแหลม โคนใบเว้าเล็กน้อย ขอบใบเรียบ ผิวใบมัน เส้นกลางใบมีขน ก้านใบยาว 3-5 มิลลิเมตร มีขนนุ่ม ผิวใบด้านหลังใบมีซิสโทลิท (cystolith) หรือผลึกของแคลเซี่ยมคาร์บอเนตที่ผิวใบสะสะมอยู่มาก 
ดอก ออกเป็นช่อกระจะ ออกที่ซอกใบและปลายยอด โดยดอกจะติดอยู่บนแกนช่อดอก และทยอยบานจากโคนช่อขึ้นไปตามปลายยอด ช่อดอกยาว 16 เซนติเมตร ก้านดอกย่อยยาว 2-3 มิลลิเมตร ดอกรูปกรวย ปลายแยกเป็น 5 แฉก ขนาดเท่ากัน ผิวด้านนอกมีขน ด้านในเรียบ ดอกสีขาว สีเหลือง หรือสีม่วงอ่อน กลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอดยาว โคนหลอดกว้าง 3 มิลลิเมตร ปลายหลอดกว้าง 1 เซนติเมตร กลีบรูปกึ่งกลมแกมรูปไข่กลับ ขนาด 0.7-1.2 × 0.8-1 เซนติเมตร กลีบกลางมีปากล่างสีม่วง หรือสีออกม่วงเข้มอมน้ำตาล กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ มีขน วงกลีบยาว 7 มิลลิเมตร แบ่งเป็นพู รูปหอกแกมรูปเส้นตรง ขนาด 5-7 × 1-1.2 มิลลิเมตร ด้านนอกมีต่อมขน ที่ขอบมีขนอ่อนเล็กๆ ใบประดับรูปสามเหลี่ยม ขนาด 5 มิลลิเมตร มี 2 แผ่น มีขน ใบประดับย่อย รูปหอกแกมรูปเส้นตรง ขนาด 1-2.5 มิลลิเมตร มีขน เกสรเพศผู้มี 4 อัน สีขาว เป็นอิสระ ก้านชูอับเรณูโค้งเข้าหากัน ก้านเกลี้ยง โคนเชื่อมติดบนหลอดกลีบดอก แบ่งเป็นสองคู่ คู่ยาว ยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร คู่สั้น ยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร อับเรณูขนาด  3 × 1 มิลลิเมตร เกสรเพศเมีย มีรังไข่เหนือวงกลีบ รูปรี ขนาด 3.5 มิลลิเมตร มีขน ก้านชูเกสรเพศเมียยาว 1.8 เซนติเมตร มีขนคล้ายกำมะหยี่ ยอดเกสรเพศเมียเป็นตุ่ม 2 พู 
ผล  แบบแคปซูล ขนาด 1.3×2 เซนติเมตร  รูปทรงกระบอก มีขนปกคลุม  ผลแก่แตกเป็น 2 ซีก ภายในมี
เมล็ด 3-4 เมล็ด เมล็ดรูปไต แบน สีน้ำตาล ขนาด 3-5 × 0.5-3 มิลลิเมตร พบขึ้นตามที่รกร้าง ริมน้ำ ชายคลอง ทั่วไป ออกดอกราวเดือนกันยายนถึงธันวาคม ติดผลราวเดือนธันวาคมถึงมีนาคม
การกระจายพันธุ์ : บาหยามีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบตั้งแต่ อัฟริกา อินเดีย ศรีลังกา และประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ พบขึ้นเป็นวัชพืชทั่วไป โดยเฉพาะตามชายหาด หรือปลูกเป็นไม้ประดับ 
สรรพคุณทางสมุนไพร
ราก  แก้ไข้เพื่อโลหิต แก้พิษฝีภายใน แก้ไข้เหนือ ขับลมให้ซ่านออกมาทั่วตัว
ใบ แก้ปวดบวม ปวดตามข้อ ขับพยาธิ ใบและดอก สมานลำไส้ ลดไข้ บรรเทาอาการเจ็บท้องคลอดลูก แก้พิษงู และแก้ม้ามโตในเด็กที่เกิดใหม่
ตำรายาไทย   ใบ แก้ปวดบวม แก้ปวดตามข้อ ถ่ายพยาธิ และเป็นพืชอาหาร ใช้กินเป็นผัก
ชนเผ่าทมิฬนาฑู ประเทศอินเดีย ทั้งต้น ใช้รักษาโรคข้อรูมาติซึม ราก ใช้ภายนอก แก้ผื่นแพ้ที่ผิวหนัง ใบ รักษาเบาหวาน
ประเทศแอฟริกาใต้ใช้ ทั้งต้น กินเป็นผัก น้ำสกัดจากต้นใช้ขับพยาธิ แก้อาการบวม รักษาโรคข้อรูมาติซึม โรคโกโนเรีย รักษาโรคหู
 ประเทศไนจีเรียใช้ ใบ เป็นยาเฉพาะที่ รักษาหอบหืด

สถานที่  อำเภอรัตนบุรี  จังหวัดสุรินทร์
อ้างอิง
ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. บาหยา. http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=233
มหัศจรรย์แห่งสมุนไพรไทย  .http://thaiherb-tip108.blogspot.com/2011/03/blog-post_25.html
สารานุกรมพืชในประเทศไทย.บาหยา.http://web3.dnp.go.th/botany/detail.aspx
Asystasia gangetica (L.) T. Anders. T. Anders. Acanthaceae. Ganges Primrose.
http://www.flowersofindia.net/catalog/slides/Ganges%20Primrose.html

ถั่วแปบช้าง Afgekia sericea Craib

ถั่วแปบช้าง Afgekia sericea   Craib








ชื่ออื่นๆ   :    กันภัย (สระบุรี)
ชื่อสามัญ :    ถั่วแปบช้าง
ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Afgekia sericea   Craib
ชื่อพ้อง :        -
วงศ์ :           Leguminosae - Papilionoideae
ถิ่นกำเนิด : ประเทศไทย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เลื้อย/ไม้เถาขนาดกลาง มีขนสีเทานุ่มคลุมตามลำต้น มักเลื้อยคลุมยอดหญ้าและไม้พุ่มเตี้ยตามป่าเต็ง-รัง 
 ใบ ใบเป็นช่อติดเรียงสลับช่อหนึ่ง ๆ ประกอบด้วยใบย่อยที่ติดตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ 4-5 คู่ แต่ใบปลายสดของก้านช่อเป็นใบเดี่ยวๆ ใบย่อยเหล่านี้ รูปมนแกมรูปขอบขนาน โคนใบมนแล้วค่อย ๆ สอบเรียวเล็กน้อยไปทางปลายใบ ปลายใบแหลมทู่ หลังใบสีเขียวมีขนสั้นๆ ประปรายส่วนท้องใบมีขนละเอียด เป็นเส้นไหมสีเงินเป็นมันลู่ราบไปตามผิว จับดูจะรู้สึกนุ่มมือ ตามโคนก้านช่อและก้านใบย่อยจะมีหูใบเรียวแหลมเล็ก ๆ หนึ่งคู่ 
 ดอก  ลักษณะคล้ายดอกถั่ว สีชมพูอมขาว ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ใบประดับสีชมพูเรียงกันแน่นที่ปลายช่อ ออกรวมกันเป็นช่อแน่น ยาวประมาณ 18 เซนติเมตร ช่ออ่อนถ้าดูอย่างผิวเผิน มีรูปทรงคล้ายปรางค์ขอม จะมีกาบรองดอกสีกลีบบัว หุ้มที่โคนช่อ เกสรมี 10 อัน แยกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งมี 9 อัน ซึ่งโคนก้านเกสรจะติดกัน อีกกลุ่มหนึ่งมีอันเดียวโดด ๆ หลอดท่อเกสรเมียมีอันเดียว และยาวยื่นออกมาจากดอกเห็นได้ชัด ใบประดับมีขนนุ่ม กลีบดอก 5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน กลีบเลี้ยง 5 กลีบ โคนเชื่อมกันเป็นรูปถ้วย เกสรเพศผู้ 10 อัน ก้านเกสรเชื่อมกัน  
ผล เป็นฝักรูปขอบขนาน หนา มีขนนุ่มสีน้ำตาลปกคลุม เมื่อแก่แตกได้ เมล็ด 2-3 เมล็ด รูปไข่ มีลาย ออกดอกฤดูฝน  ฝักแก่จะแตกอ้าออกตามรอยประสาน
นิเวศวิทยา :  มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย พบทั่วไปตามป่าเต็งรัง และป่าดิบแล้ง
ขยายพันธุ์
:  ด้วยเมล็ด
ประโยชน์ : มีสรรพคุณ บำรุงไขมัน เพิ่มการสะสมไขมันในร่างกาย เหมาะสำหรับคนผอม

สถานที่ : อำเภอรัตนบุรี  จังหวัดสุรินทร์
อ้างอิง
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี : http://www.rspg.or.th/index.html.ความเหมือนที่แตกต่าง.
http://www. rspg.or.th/articles/df/df1.htm
 ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. กันภัยhttp://www.qsbg.org/ database/ botanic_ book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=2436

 Herbs For Health. Afgekia sericea Craib.(Thua Paep  Chaang) http://herbstohealth.   blogspot.com/2009/01/afgekia-sericea-craibthua-paep-chaang.html

BOONSANONG CHOURYKAEW,CHUMPOL KHUNWASI ,
THAWEESAKDI BOONKERD AND TOSAK SEELANAN. Floral Visitors and Fruit Set in Afgekia sericea Craib (Fabaceae) http://www.thaiscience.info/journals/ Article/Floral% 20visitors%20and%20fruit%20set%20in%20afgekia%20sericea%
20craib%20(fabaceae).pdf

https://tropicalgardener.wordpress.com/tag/afgekia-sericea/