วันเสาร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2558

หมักม่อ : Rothmannia wittii (Craib.) Bremek.

หมักม่อ : Rothmannia wittii (Craib.) Bremek.




 



ชื่อสมุนไพร          หมักม่อ
ชื่ออื่นๆ                 ต้นขี้หมู(บุรีรัมย์) หม่อ หม้อ
ชื่อวิทยาศาสตร์     Rothmannia wittii (Craib.) Bremek.
ชื่อพ้อง                 Randia wittii Craib.
ชื่อวงศ์                  Rubiaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น      ไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก สูง 6-8 เมตร เปลือกสีน้ำตาลอมดำ กิ่งอ่อนมีขนอ่อนสีน้ำตาลแดงปกคลุมหนาแน่น แตกกิ่งเป็นชั้น คล้ายกับฉัตร มีทรงพุ่มกลม โปร่ง
ใบ      ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม เป็นคู่ ใบรูปขอบขนาน หรือรูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 3-6 เซนติเมตร ยาว 12-16 เซนติเมตร ใบอ่อนมีขนปกคลุมทั้งสองด้าน ใบค่อนข้างนิ่ม มีขนาดใหญ่ และเห็นเส้นแขนงใบชัดเจน หูใบอยู่ระหว่างก้านใบ ปลายใบ และโคนใบแหลม
ดอก   ดอกช่อ ออกเป็นกระจุกที่ซอกใบใกล้ปลายยอด สีขาวนวล กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง มีดอกย่อย 5-12 ดอก ดอกย่อยรูประฆัง ปลายแยกเป็น 5 กลีบ และบานโค้งงอกลับ โคนกลีบด้านในมีแต้มสีเขียวและแถบประสีม่วงเข้ม ดอกบานคว่ำลง เมื่อบานมีเส้นผ่าศูนย์กลางของดอก 3-5 เซนติเมตร  มีกลิ่นหอมอ่อนๆ
ผล     ผลสด รูปทรงกลม ขนาด 3-4 เซนติเมตร เปลือกผลเรียบ แข็ง มีรอยตะเข็บสีน้ำตาลเป็นสันเล็กน้อย แบ่งครึ่งลูก เนื้อผลมีรสหวานเล็กน้อย มีสีเขียวเข้ม เมื่อแก่สีดำ มีเมล็ดจำนวนมาก ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด พบขึ้นตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าโปร่ง และป่าละเมาะ ออกดอกช่วงเดือนธันวาคม ถึงมีนาคม
สรรพคุณ              
ตำรายาไทย: ใช้ แก่น รสสุขุม (จืดมันฝาดหวานร้อน) ปรุงยาต้มดื่มแก้ไข้ ถ่ายเส้นเอ็น แก้อัมพฤกษ์อัมพาต เหน็บชา ถ่ายพิษในตับ ขับปัสสาวะ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ
           ยาพื้นบ้าน: ใช้ แก่นหรือราก ต้มน้ำดื่มแก้ไข้ ลำต้น ผสมกับสมุนไพรอื่น ต้มน้ำดื่มรักษากามโรค

           ตำรายาพื้นบ้านอำนาจเจริญ: ใช้ แก่น นำมาต้มกินแก้ท้องผูก ต้มดื่มตอนที่อยู่ไฟ เป็นสมุนไพรแก้เส้นเอ็น

อ้างอิง
ความหลากหลายทางชีวภาพhttp://chm-thai.onep.go.th/chm/Dry/bdd_plant02.html 
หมักม่อ : ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 
http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=126
หมากหม่อ : ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน
http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10869
ายงานชนิดของพรรณไม้ เรื่อง หมักหม้อ .Rothmannia wittii (Craib.) Bremek. ศูนย์ศึกษาและพัฒนาวนศาสตร์ชุมชนที่ 6  สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 6 (อุดรธานี) กรมป่าไม้ . https://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=2&cad= rja&uact=8&ved=0CCIQFjAB&url=http%3A%2F%2Fwww.forest.go.th%2Fcommunity_development%2Findex.php%3Foption%3Dcom_docman%26task%3Ddoc_download%26gid%3D140%26Itemid%3D%26lang%3Dth&ei=IBENVfTUDIWSuATEmoCYBw&usg=AFQjCNG-nEClHjHMIvOx9lkaJJ4quVuANw&bvm=bv.88528373,d.c2E
หมักหม้อ.สถาบันวิจัยวิทยาศาสตรและเทคโนโลยแหงประเทศไทย (วว.) http://www.tistr.or.th/sakaerat/Plant%20in%20Sakaerat/plant%20list/167หมักหม้อ.pdf
http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=142
สถานที่ : อำเภอรัตนบุรี  จังหวัดสุรินทร์

วันศุกร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2558

ผักลืมผัว (phak luem pua) Lobelia begonifolia Wall.

ผักลืมผัว (phak luem pua) Lobelia begonifolia Wall.







ชื่ออื่นๆ :        Lobelia begonifolia Wall.
ชื่อสามัญ :      
ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Lobelia begonifolia Wall
ชื่อพ้อง :        Lobelia begoniifolia Wall., Lobelia horsfieldiana Miq., Lobelia javanica Thunb., Lobelia obliqua Buch.-Ham. ex D. Don, Pratia begoniifolia (Wall.) Lind. Lobelia angulata Forst.  铜锤玉带草 (China)
วงศ์ :           Campanulaceae
ถิ่นกำเนิด :  ผักลืมผัวมีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบที่อินเดีย บังคลาเทศ ภูฏาน ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย นิวกินี และฟิลิปปินส์ ในไทยพบแทบทุกภาค ยกเว้นภาคตะวันออกเฉียงใต้และภาคใต้ ขึ้นตามร่มเงาที่ชุ่มชื้นในป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น และป่าดิบเขา ระดับความสูง 600-1600 เมตร
ลักษณะพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก ลำต้นทอดเลื้อยไปตามพื้น ยาวได้กว่า 50 ซม. มีรากตามข้อ ลำต้นส่วนมากมีขน
ใบ : ใบเรียงเวียน รูปไข่หรือเกือบกลม ยาว 0.7-2.5 ซม. ปลายใบแหลม มน หรือกลม โคนใบรูปหัวใจ ส่วนมากเบี้ยว ขอบใบจักซี่ฟันตื้น ๆ แผ่นใบเกลี้ยงหรือมีขนประปราย ก้านใบยาวได้ประมาณ 1.5 ซม
ดอก : ดอกออกเดี่ยว ๆ ตามซอกใบ ก้านดอกยาว 0.7-3.5 ซม. ฐานดอกรูปถ้วย
ยาว 2-4 มม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ติดทน รูปสามเหลี่ยวเรียวแคบ ยาว 2.5-6 มม. ขอบจักซี่ฟันห่าง ๆ 2-3 คู่ กลีบดอกสีม่วงอ่อนอมเขียวหรือแดง ด้านใบมีสีอ่อนหรือมีปื้นสีเหลืองอ่อน ยาว 0.6-1 ซม. สมมาตรด้านข้าง กลีบบน 2 กลีบ แฉกลึกจรดโคน กลีบรูปสามเหลี่ยม ขอบเว้าเข้า กลีบล่าง 3 กลีบ รูปขอบขนาน ยาวกว่ากลีบบนเล็กน้อย โคนกลีบข้างเว้าเข้า หลอดกลีบมีขนยาวด้านใน เกสรเพศผู้เชื่อมติดกันเหนือกึ่งกลาง หลอดเกสรเพศผู้เกลี้ยง ส่วนอับเรณูที่เชื่อมติดกันยาว 1-1.5 มม. สีเทาดำ ปลายอับเรณูคู่ล่างมีขนเครา รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ ยอดเกสรเพศเมียหยัก 2 พู
ผล : ผลแบบผลสดมีหลายเมล็ด สีม่วงอมแดง ทรงกลมหรือรูปรี ยาว 0.7-1.5 ซม.
เมล็ด  : เมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก เกือบกลม แบนเล็กน้อย ผิวเป็นร่างแห
ประโยชน์ : เป็นผักรับประทานกับน้ำพริก

อ้างอิง :
สารานุกรมพืชในประเทศไทย : ผักลืมผัว. (The Encyclopedia of Plants in Thailand) http://web3.dnp.go.th/botany/detail.aspx
Lobelia angulata Forst.  铜锤玉带草. http://www.cfh.ac.cn/135887.spid

More : http://www.shutterstock.com/s/lobelia/search.html

Local Vegetables of Thailand: http://www.jircas.affrc.go.jp/ project/ value_addition/Vegetables/067.html
Examination of Calcium oxalate from Indigenous Vegetables :
http://www.walai.msu.ac.th/home/pdf/research/02Examination%20of%20Calcium%20oxalate%20from%20Indigenous%20Vegetables
สถานที่: อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์

วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ขี้อ้นแดงPavonia rigida (Wall. ex Mast.) Hochr.

ขี้อ้นแดง
Pavonia rigida (Wall. ex Mast.) Hochr.







ภาพ 1 - 6 อุทยานแห่งชาติผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี



ภาพ 7 - 8  ภาพจากทุ่งนา จังหวัดสุรินทร์

ชื่อทั่วไป : หัสคุณดอกแดง
ชื่อท้องถิ่น  :  ขี้อ้น Khi on (Buri Ram); ขอบจักรวาล Khop chakkrawan, ครอบจักรวาล Khrop chakkrawan, แสงอาทิตย์ Saeng athit (Chanthaburi); หงอนไก่ Ngon kai, อ้นแดง On daeng (Ubon Ratchathani); คืนหน Khuen hon (Prachuap Khiri Khan); หัสคุณดอกแดง Hatsakhun dok daeng (Satun) ขี้อ้นแดง Khee on daeng(LAO P.D.R)
ชื่อสามัญ : Wetchi-pane ( Myanmar )
ชื่อวิทยาศาสตร์   :  Pavonia rigida (Wall. ex Mast.) Hochr.
วงศ์ :  Malvaceae
ลักษณะ :  ไม้พุ่ม ทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน สูง 30-60 ซม. ลำต้นมีขนรูปดาว
ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ กว้าง 3-7 ซม. ขอบจักฟันเลื่อย มีขนรูปดาวทั้งสองด้าน
ดอกช่อกระจุก ออกดอกที่ซอกใบ กลีบดอกสีม่วงแกมสีชมพู หรือแดง ริ้วประดับรูประฆัง ปลายแยกเป็นเส้นห้าแฉก
ต้น : ไม้ล้มลุกรอเลื้อยลำต้นสีน้ำตาลแดงมีขนรูปดาว
ใบ : ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปกลมแกมรูปไข่ ยาว 6-7.5 ซม. กว้าง 4.5-5 ซม. ปลายแหลมหรือมน ฐานรูปหัวใจ ขอบแบบจักฟันเลื่อย มีขนรูปดาว มีต่อม 1 ต่อม ที่โคนเส้นกลางใบ เส้นใบและก้านใบมีสีแดง ก้านใบยาว 1-3 เซนติเมตร
ดอก: กระจุกออกที่ซอกใบหรือปลายกิ่ง กลีบดอกสีชมพูหรือสีชมพูอมแดง ขนาด 4 เซนติเมตร กลีบดอกมี 5 กลีบ ปลายมน โคนเรียว ส่วนโคนกลีบดอกเชื่อมกับฐานหลอดเกสรตัวผู้ กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ ด้านนอกมีขน ริ้วประดับรูประฆัง ปลายแยกเป็นเส้นห้าแฉก เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก เชื่อมกันเป็นกลุ่มเดียว เกสรเพศเมีย มีก้านชูเกสรแยกเป็น 10 แฉก
ผล: ผลมีขนเป็นริ้ว ประดับรูปถ้วยหุ้มไว้เมล็ดรูปไต
นิเวศวิทยาและการกระจายพันธุ์ :  พบตามป่าโปร่งและทุ่งนาป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง ออกดอกราวเดือนตุลาคมถึงมกราคม
การใช้ประโยชน์ : สมุนไพร  ยาพื้นบ้านอีสานใช้ ราก ต้มน้ำให้สตรีระหว่างอยู่ไฟหลังคลอดดื่ม และบำรุงโลหิต      ประเทศลาว ราก ใช้รักษานิ่วในถุงน้ำดี โดยใช้ราก 100 กรัม ต้มรวมกับสมุนไพรอื่นอีก 4 ชนิด อย่างละเท่าๆกัน ต้มน้ำดื่ม

สถานที่ :  อุทยานแห่งชาติผาแต้ม  อุบลราชธานี
                 อำเภอสนม  จังหวัดสุรินทร์
อ้างอิง : 
ความหลากหลายของพันธุ์พืชบริเวณผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี.http://chm-thai. onep. go.th/ chm/Dry/bdd_plant02.html

ชนิดพันธุ์พืชใน  สปป.ลาว .http://www.lao44.org/2008-07-22-13-04-34.html?func=startdown&id=1153

ฐานข้อมูลพรรณไม้องค์การสวนพฤกษศาสตร์. ฐานข้อมูลพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน. Pavonia rigida (Wall. ex Mast.) Hochr. http://www.qsbg.org/database/plantdb/mdp/medicinal-specimen.asp?id=284
ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ, กรมป่าไม้. หัสคุณดอกแดง. http://biodiversity.forest.go.th/index.php?option=com_dofplant&view=showone&id=665
Pargarden.com. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัย อุบลราชธานี.              
http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=209
http://botany.si.edu/myanmar/searches/genericNames.cfm?myGenus= Pavonia&inWindow=yes

วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ไมยราบ : Sensitive plant

ไมยราบ : Sensitive plant







ชื่ออื่นๆ :  หญ้าปันยอด Ya  pan  yot , หญ้าจิยอบ  Ya chi yop (Northern); กระทืบยอด Kra thuep yot, หนามหญ้าราบ Nam ya rap (Chanthaburi); กะหงับ Ka ngap (Peninsular); ก้านของ Kan khong (Nakhon Si Thammarat); 
นาหมื่อม้ะ Na-mue-ma (Karen-Mae Hong Son); ไมยราบ Maiyarap, ระงับ

ชื่อสามัญ :  common sensitive plant; paklab, sampeas (Cambodia),  daoen kaget kaget(Indonesia)  mala malu (Malaysia), makahiya (Philippines), mai yarap (Thailand) mac co (Vietnam)

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Mimosa pudica  L.

ชื่อพ้อง :  Mimosa tetrandra Humb. & Bonpl. ex Willd.
Mimosa pudica L. var. tetrandra (Willd.) DC.
Mimosa unijuga Duch. & Walp.
Mimosa pudica L. var. unijuga (Duch. & Walp.) Griseb.

วงศ์ :  Mimosaceae

ถิ่นกำเนิด :  มีถิ่นกำเนิดในแถบอเมริกาใต้ ซึ่งประเทศไทยได้มีการนำเข้ามาโดยกรมทางหลวงเพื่อนำมาใช่คลุมหน้าดิน  พบกระจายทั่วไปในเขตร้อน ประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค เป็นวัชพืชขึ้นได้ในที่ชื้นแฉะ และข้างทางเปิดโล่ง ออกดอกตลอดปี

ลักษณะพฤกษศาสตร์ :  จัดเป็นไม้ล้มลุกที่มีอายยุหลายปี มักแผ่ทอดเลื้อยตามพื้นดิน บางครั้งจะสูงถึง 1 เมตร ต้นมีน้ำตาลแดง มีหนามขนาดเล็ก และมีขนหยาบๆปกคลุมที่ลำต้น แกนก้านใบและท้องใบรวมไปถึงช่อดอก และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด

ใบ ไมยราบ จัดเป็นใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น แกนกลางรวมกับก้านใบมีความยาวประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร ส่วนใบย่อยมี 1-2 ใบ มีความยาวประมาณ 1.5-7 เซนติเมตร โดยใบย่อยจะมีอยู่ประมาณ 12-25 คู่ ลักษณะคล้ายรูปขอบขนานหรือคล้ายๆ รูปเคียวยาวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร

ดอก ไมยราบ ออกดอกเป็นช่อกลมสีชมพู เป็นดอกเดี่ยวหรือดอกคู่ ออกที่บริเวณซอกใบ ก้านดอกมีความยาวประมาณ 2.5-4 เซนติเมตร ดอกมีจำนวนมาก ไร้ก้าน มีกลีบเลี้ยงขนาดเล็กมากประมาณ 0.1 มิลลิเมตร กลีบดอกจะคล้ายกับรูประฆังแคบ มีความยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร กลีบดอกจะมนกลม มีความยาวประมาณ 0.5-0.8 มิลลิเมตร มีเกสรตัวผู้อยู่ 4 อัน และมีรังไข่ยาวประมาณ 0.5 มิลลิกรัม

ผล ไมยราบ มีลักษณะเป็นฝักแห้ง แบน ยาวเรียว ฝักมีหลายฝักในแต่ละช่อดอก ลักษณะเป็นรูปขอบขนาน ตรงและยาวประมาณ 1.5-1.8 เซนติเมตร มีขนแข็งปกคลุมตามสันขอบผล ส่วนเมล็ดมีสีน้ำตาลอ่อน เมล็ดแบนเป็นสันนูนตรงกลาง หนึ่งผลมีเมล็ดประมาณ 2-5 เมล็ด ผลหักตามรอยคอด
ไมยราบ เป็นพืชล้มลุกที่มีลักษณะพิเศษ คือ หากได้รับแรงสั่นสะเทือน ก้านและใบก็จะตอบสนองด้วยการหุบตัวลงอย่างรวดเร็ว และยังเป็นพืชที่จัดอยู่ในตระกูลและมีคุณสมบัติใกล้เคียงกันเช่นเดียวกับผักกระเฉด

ประโยชน์  ไมยราบมีสรรพคุณมากมาย โดยส่วนที่นำมาใช้ก็ได้แก่ ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล
ทั้งต้น  มีสรรพคุณในการ  ช่วยบำรุงร่างกาย   ต้นแห้งนำมาต้มกับน้ำกินช่วยแก้อาการอ่อนเพลียได้   ไมยราบทั้งต้นนำมาสับเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนำมาตากจนแห้งสนิทและนำมาต้มกินต่างน้ำ สามารถช่วยรักษาโรคกษัยได้   ช่วยแก้เบาหวาน ลดระดับน้ำตาลในเลือด เพราะสารสกัดน้ำจากต้นและรากของไมยราบขนาน 20 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมสามารถออกฤทธิ์ช่วยลดระดับน้ำตาลได้เทียบเท่ากับการใช้ยามาตรฐานโทลบูตาไมด์ (Tolbutamide) ขนาด 100 มก./กก. น้ำหนักตัว โดยจะออกฤทธิ์ได้อย่างต่อเนื่องนานถึง 5 ชั่วโมง   ทุกส่วนของต้นนำมาหั่นแล้วคั่วโดยใช้ไฟอ่อนๆ จะมีกลิ่นหอมสามารถนำไปชงดื่มแทนชา ช่วยลดระดับระดับคอเลสเตอรอลได้  ช่วยขับโลหิตช่วยแก้เด็กเป็นตานขโมย   ช่วยแก้ตานซางในเด็กเล็ก  ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ  ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ   ช่วยทำให้สงบประสาท  ช่วยแก้อาการตาบวม ตาเจ็บ  ช่วยแก้ไข้ออกหัด  ช่วยแก้กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ  ช่วยขับและช่วยแก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ   ช่วยแก้นิ่ว ขับนิ่ว  ช่วยแก้ไส้เลื่อน ด้วยการนำทุกส่วนของต้นมาต้มกิน  ช่วยขับระดูขาว  ช่วยแก้ไตพิการ  ช่วยแก้อาการผื่นคันตามตัว  ช่วยแก้แผลฝี ช่วยแก้อาการปวดข้อ   ช่วยแก้อาการบวมตามเนื้อตามตัว  ช่วยแก้อาการปวดหลังปวดเอว หรือจะนำมาผสมกับดอกคำฝอย ใบเตยหอม ใบหม่อน ทองพันชั่ง โดยใช้ไมยราบเป็นตัวยาหลักในการต้มดื่มเพื่อสุขภาพและช่วยแก้อาการปวดหลังได้  ช่วยแก้หัด และขับน้ำนม  และสารบริสุทธิ์สกัดจากต้นของไมยราบ สามารถนำมาใช้ทำเป็นโทนเนอร์เช็ดหน้าหลังอาบน้ำ เพื่อใช้ฆ่าเชื้อที่เป็นสาเหตุของการเกิดสิวและทำความสะอาดผิวหน้าได้อีกด้วย 

ราก  ช่วยในการระงับประสาท    ช่วยทำให้ตาสว่าง   ช่วยแก้อาการไอ ช่วยขับเสมหะ ช่วยแก้หลอดลมอักเสบเรื้อรัง ช่วยบำรุงกระเพาะอาหาร ช่วยแก้อาการบิด ท้องร่วง ช่วยแก้ปัญหาระบบย่อยอาหารของเด็กไม่ดีได้ ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร ช่วยรักษาโรคปวดช่วงเวลามีประจำเดือน ช่วยแก้เริม ช่วยแก้อาการงูสวัด ช่วยแก้ไฟลามป่า ช่วยรักษาโรคพุพอง ช่วยรักษาแผลเรื้อรังต่างๆ
ใบ  ช่วยรักษาแผลฝีหนอง ใบไมยราบนำมาตำพอกช่วยแก้อาการปวดบวมได้ 

สถานที่ : อำเภอรัตนบุรี  จังหวัดสุรินทร์

อ้างอิง : 
ไมยราบ . http://frynn.com/%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B8%A2

สารานุกรมพืชในประเทศไทย. ไมยราบ.  http://web3.dnp.go.th/botany/detail.aspx?
wordsLinkno=0&words=ไมยราบ&typeword=word

Baby Joseph, Jency George, Jeevitha Mohan. Pharmacology and Traditional Uses of Mimosa pudica. http://www.ijpsdr.com/pdf/vol5-issue2/1.pdf

BGO Plant Database, The Botanical Garden Organization : http://www.qsbg.org/ database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=1503
Mimosa pudica L. sensitive plant : http://www.fs.fed.us/global/iitf/pdf/shrubs/ Mimosa% 20pudica.pdf
Mimosa pudica : http://www.iucnredlist.org/details/175208/0
Biological Control of Weeds: Southeast Asian Prospects . http://aciar.gov.au/ files/ node/ 2160/MN26%20Part%208.pdf
NILESH KUMAR1, PALWINDER KAUR2, KUNTAL DAS3, SUDIPTA CHAKROBORTY. MIMOSA PUDICA L. A SENSITIVE PLANT. http://ijppsjournal.com/Vol1Issue2/152%20R1.pdf

ผักบุ้งช้าง Argyreia collinsae (Craib) Na Songkhla & Traiperm

ผักบุ้งช้าง  
Argyreia collinsae (Craib) Na Songkhla & Traiperm







ชื่ออื่น ๆ : ผักบุ้งช้าง  เถากระดึงช้าง
ชื่อสามัญ : Argyreia collinsae (Craib) Na Songkhla & Traiperm
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ipomcea aquatica Forsk.
วงศ์ : Convolvulaceae
ชนิด : Argyreia collinsae
ลักษณะทั่วไป : เป็นพรรณไม้เถา ชอบเลื้อยพาดพันตามต้นไม้ใหญ่ ตามร้านเถานั้น
จะมีลักษณะกลม และเกลี้ยง  ทุกส่วนมียางสีขาว
ใบ : ใบมีลักษณะเป็นรูปไข่ ปลายใบยาวเรียว โคนใบมนหรือเว้า ขนาดของใบกว้างประมาณ
1.5 – 3 นิ้ว ยาวประมาณ 2.5 – 4 นิ้ว เนื้อผิวใบค่อนข้างหนา หลังใบมีสีเขียวเข้ม
ใต้ท้องใบมีสีเขียวอ่อนกว่า ก้านใบยาว 1.5 – 2.5 นิ้ว
ดอก : ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ  กลีบดอกมีลักษณะเป็นแตรปลายแผ่ออกและหยักเป็นแฉกตื้นๆ
มีสีขาวแกมม่วง เมื่อบานเต็มที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3 - 4 เซนติเมตร
ผล : ผลสด รูปทรงกลม เปลือกสีขาว
เมล็ด : กลมสีน้ำตาล
ประโยชน์ :
สถานที่ : อำเภอรัตนบุรี อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
          convolvulaceae-new-import/convolvulaceae/argyre
http://science.mnhn.fr/institution/mnhn/collection/p/item/p04039339
 JSTOR Global Plants . http://plants.jstor.org/specimen/k000830763?history=true&